Story Of His Holiness the 17th Gyalwang Karmapa, Ogyen Trinley Dorje.




เรื่องราวแห่งพระองค์เกียลวากรรมาปะที่ 17 ออกเยน ทรินเลย์ ดอเย

ตุลกู ผู้เป็นยิ่งกว่าผู้สร้างแรงบันดาลใจ


ในคำสอนของพระพุทธศาสนาวัชรยาน พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานอย่างสิ้นเชิง ทรงอยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่ พระองค์ทรงสถิตอยู่ในรูปของปรมัตถสัจจ์ หรือที่รู้จักกันในนามของ ธรรมกาย หรือ กายแห่งสัจธรรม

ธรรมกาย หมายถึง ดวงจิตแห่งพุทธะ ซึ่งมีแก่นเป็นความกรุณาหรือโพธิจตที่สถิตอยู่ในหัวใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย หากแต่ปรารถนาจะนำสรรพสัตว์ไปสู่การรู้แจ้งในพุทธภาวะ พระพุทธเจ้าอาจปรากฎพระองค์ออกมาในรูปอื่น อันได้แก่ สัมโภคกาย กายทิพย์ซึ่งเรืองรองด้วยฉัพพรรณรังสี และ นิรมาณกาย อันเป็นกายที่ปราฏในโลกมนุษยที่เราอาศัยอยู่ ในภาษาทิเบตเรียกว่า "ตุลกู"

"ตุลกู" ผู้เป็นยิ่งกว่าผู้สร้างแรงบันดาลใจ อาจารย์หรือผู้เป็นแบบอย่าง ท่านเป็นมนุษย์ผู้ประกอบไปด้วยองค์คุณแห่งพระโพธิสัตว์ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาวัชรยาน พระโพธิสัตว์จะบรรลุธรรมไปตามลำดับขั้น โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสิบขั้น หรือที่เรียกว่า "ทศภูมิ" โดยภูมิสูงสุด พระโพธิสัตว์จะมีสิทธิ หรือพลังอำนาจพิเศษ ซึ่ง สิทธิอำนาจที่สำคัญสูงสุดคอ สามารถที่จะเลือกสภาวการณ์ในการกลับมาเกิดใหม่ เพื่อว่าการเกิดนั้นจะเอื้อประโยชน์ในการนำพาผู้อื่นไปสู่การบรรลุธรรม

ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งสัตยาธิษฐานในการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อกลับมาช่วยเหลือสรรพสัตว์นี้ ได้กลายมาเป็นหัวใจหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาวัชรยาน

ต้นกำเนิดของปรากฎการณ์เรื่อง ตุลกู หรือ นิรมาณกาย ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาบาลียุคแรก ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธประวัติและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศากยมุนีพุทธเจ้า ความในพระไตรปิกฎกล่าวไว้ว่า ระหว่างบำเพ็ญเพียรพระบารมีก่อนจะตรัสนั้น พระพุทธองค์ทรงเวียนว่ายตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วน แต่ละชาติ พระองค์จะทรงเจาะจงเลือกสภาวการณ์ในการกับมาเกิดใหม่เพื่อว่าจะทรงสามารถช่วยเหลือและชี้นำสรรพสัตว์ทั้งหลาย กล่าวกันว่าองค์ศากยมุนีทรงสามารถย้อนระลึกถึงบุคคล สถานที และเหตุการณ์บางอย่างในอดีตชาติได้อย่างชัดเจน

แปดสิบสี่ มหาสิทธา ผู้วางรากฐานแนวทางการปฏิบัติธรรมพระพุทธศาสนาวัชรยานก็เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งบรรลุธรรมสูงสุด และตลอดระยะเวลาอันยาวนาวของพระพุทธศาสนาวัชรยานก็ได้มีการบันทึกถึงการ "กลับมาเกิด" ในรูปกายต่างๆมากมาย อย่างไรก็ดี แนวทางในการพิสูจน์นิรมาณกายเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 12 พร้อมการเกิดขึ้นของตำแหน่งองค์กรรมาปะ ซึ่งการกลับมาเกิดก็จะมีการพยากรณ์ล่วงหน้าถึงการกลับชาติมาเกิดและจะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้กับลูกศิษย์คนสนิท

วัตรปฏิบัติในการับรองนิรมาณกายนี้ได้แพร่หลายไปในนิกายกรรมะกาคิวอย่างรวดเร็ว สร้างความเป็นปีกแผ่นให้กับสายธรรมในรูปของ ตุลกู หรือ ริมโปเชต่างๆ (ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "สูงค่า") ไม่ว่าจะเป็นชามาร์ปะ,ไทชิทูปะ,เกีลยซับ ริมโปเช ,ปาโว ริมโปเช ,จัมกอน คองตรุล ริมโปเช ,กาลู ริมโปเช และอื่นๆอีกมากมาย

ในขณะเดียวกันวัตรปฏิบัตินี้ก็ยังได้แพร่หลายไปสู่พุทธศาสนาวัชรยานนิกายอื่นๆ ในคณะสงฆ์ซึ่งต้องถือพรหมจรรย์นั้น การพิสูจน์นิรมาณกายไม่เพียงทำหน้าที่ตอกย้ำถึงองค์คุณอันประเสริฐในการเสียสละเพื่อผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ หากยังเป็นการสืบทอดลำดับขี้นสมณศักดิ์ทั้งในทางศาสนจักรและทางอาณาจักรด้วย

การสร้างระบอบตุลกูขึ้นมานั้น มีส่วนสำคัญในการทำให้ศาสนจักรธิเบตมีอำนาจเป็นปึกแผ่น ในช่วงแรกของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศาสนจักรจำต้องพึ่งพาและผูกติดอยู่กับราชสำนักหรือคหบดีผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อความอยู่รอด อันเป็นเหตุให้คณะสงฆ์ต้องถูกแทรกแซงจากภายนอกอยู่เนืองๆ ต่อมาระบอบตุลกู ได้ย้ายฐานอำนาจในการเลือกผู้นำให้มาอยู่ในมือของคณะสงฆ์ โดยใช้พลังอำนาจในการพยากรณ์ของครูบาอาจารย์ผู้บรรลุธรรม ตุลกู คือยอดสูงสุดในระบอบศาสนา เช่นที่เป็นอัญมณีประดับยอดมงกุฎของพุทธสาสนาวัชรยาน

การพิสูจน์นิรมาณกายของ ตุลกู เป็นศาสตร์ที่ไม่มีกลักการตายตัว และแต่ละนิกายก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป นิรมาณกายขององค์กรรมมาปะมีลักษณะพิเศษที่มักใช้วิธีการประกาศตนหรือการมอบหมายสาส์นพยากรณ์ที่ระบุถึงสถานที่ในการกลับมาเกิดใหม่

หากโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งมีภูมิธรรมขั้นสูงดับขันธ์ลง เหล่าสาสุศิษย์จะรอเวลาราวสองหรือสามปี ก่อนจะไปหาลามะที่เคารพนับถือกันว่าเป็นผู้หยั่งรู้ในธรรม และมีทิพยญาณ ผู้สามารถมองเห็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการกลับมาเกิดใหม่ของนิรมาณกายและให้คำชี้แนะต่อเหล่าสาวกในการออกติดตามค้นหา สัญญาณบ่งชี้เหล่านี้อาจจะมาในรูปของความฝัน ภาพนิมิต การเสี่ยงทาย การปรึกษาร่างทรง หรือลางบอกเหตุบางอย่างที่เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ การปฏิสนธิและการถือกำเนิดขึ้นของตุลกูนั้น มักมาพร้อมกับปรากฎการณ์ประหลาด ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ที่มาเกิดนั้นเป็นบุคคลที่พิเศษ

กูรูริมโปเช Guru Rinpoche



คุรุปัทมสมภพ กูรูรินโปเช่ ชาวพุทธทิเบตถือว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 พระองค์ทรงเป็นวัชรนิรมาณกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้า วัชรธรรมกายของพระองค์คือวัชรธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระองค์เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตและดินแดนในแถบหิมาลัย

ในพระสูตรวัชรยาน ได้บันทึกไว้ ว่าพระพุทธศากยะมุนีพุทธเจ้าได้สั่งพระอานนท์เถระเจ้าไว้ว่าหลังพระองค์ปรินิพาน 8 ปี ให้พระอานนท์รับบุรุษผู้หนึ่งจากแคว้นอุทยานเป็นศิษย์ให้ถ่ายทอดธรรมทั้งสิ้นให้ ด้วยว่าท่านผู้นั้นจะเป็นผู้จรรโลงพุทธศาสนาต่อไปจนถึงยุดสุดท้าย ท่านก็คือ "องค์คุรุปัทมสมภพ"หรือกูรูรินโปเช่นั่นเอง

ในช่วงเวลา 800ปี ในอินเดียบางช่วงท่านก็ปรากฏขึ้น บางช่วงท่านก็หายไป จนกระทั่งก่อนจะเข้าทิเบตจากการเชื้อเชิญจากกษัตริย์ไตรซองเดสเซน ตามคำแนะนำพระศานตรักษิตะ ท่านบรรลุมรรคผลอย่างสมบุรณ์ทรงความรู้ความสามารถ อิทธิปาฏิหาริย์ในพุทธตันตระยานอย่างถ่องแท้ หลังจากที่ท่านได้เข้าทิเบตแล้ว ทำให้ประชาชนในทิเบตและในแถบเทือกเขาหิมาลัยหันมาเป็นชาวพุทธ

คุรุปัทมสมภพหรือกูรูริมโปเช พระผู้เป็นศูนย์รวมแห่งกาย วาจา ใจ ลับของพระอมิตาภะพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรและพระศากยมุนีพุทธเจ้า หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวบังเกิดเป็นมหาศักดา วัชรนิรมานกาย ท่านทรงเป็นพระผู้สยบเหล่ามารให้รู้แจ้งในสันดานชั่วแห่งตน ทำให้บังเกิดศรัทธาธรรม ทรงปรากฏเป็นวัชรกายหกภูมิเพื่อโปรดสรรพชีวิตในแต่ละภูมิให้ได้บรรลุวิมุตติถึงการหลุดพ้นเด็ดขาด

เมื่อพระศากยมุนีพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานผ่านไป 8ปี ในวันที่ 10 เดือน 7 ตามจันทรคติทิเบต คุรุปัทมสมภพท่านได้ถือกำเนิดเองบนดอกบัว 5 สี กลางทะเลสาบธนโกษะ แคว้นอุฑิยาน ในอินเดียตะวันตก ท่านกำเนิดจากการแบ่งภาคของพระอมิตาภพุทธเจ้า มิได้กำเนิดจากครรภ์ของสตรีใด

พระราชาอินทรโพธิผู้ครองแคว้นอุฑิยาน ได้สถาปนาให้เป็นพระโอรส สืบทอดพระราชบังลังก์ เมื่อเติบโตขึ้นได้รับการเตือนจากพระวัชรสัตต์โพธิสัตว์ จึงสละราชสมบัติ ออกบรรพชา มอบตนเป็นศิษย์ในพระอานนท์เถระ ได้รับการถ่ายทอดธรรมตามคำบัญชาของพระพุทธเจ้าที่เคยสั่งพระอานนท์เถระไว้ล่วงหน้า

ในขณะรับสิกขาบทจากพระอานนท์นั้น พระบริรักษ์ธรณีพุทธมารดาได้เสด็จมาถวายไตรจีวร สรรพพุทธทั่วทศทิศสำแดงกายปกปักษ์คุ้มครอง ร่วมอนุโมทนาสาธุการ ได้เข้าปฏิบัติสมาธิ ณ วนาโกษะ เพื่อศึกษาพุทธสูตรธรรมแล้วจึงเหาะเหินเข้าสู่พุทธเกษตรแห่งพระสมัตรภัทรพุทธเจ้า เพื่อรับการถ่ายทอดอทิพุทธตันตระธรรม พระวัชรสัตต์โพธิสัตว์ทรงเสด็จมาถ่ายทอดมหาโยคะตันตระธรรม

องค์คุรุรินโปเช สามารถบรรลุสูตรธรรมและตันตรธรรม กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวจนรู้แจ้งสำเร็จซึ่งพระอมิตายุสตถาคต อนุตตรสัมโพธิญานคุรุปัทมสมภพ ด้วยประสงค์ที่จะปราบปรามสรรพชีวิตที่มีทิฐิอันแข็งแกร่งยากที่จะโปรดให้บรรลุธรรมได้ ทำให้ต้องสำแดงกายดุร้ายที่มีเดชะบารมีแกร่งกล้า เหล่ามารร้ายนอกศาสนาต่างสยบยอมสาวามิภักดิทั้งสิ้น

ท่านถ่ายทอดพระธรรมโปรดสรรพชีวิตทั้งหลายในอินเดีย เนปาล เป็นเวลาถึงแปดร้อยกว่าปี ด้วยพระปัญญาและพระเมตตาควบคู่กัน ต่อมาภายหลังได้รับการอัญเชิญจากกษัตริย์ ฑิโซงเดเชนให้เสด็จไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในทิเบตในราว พ.ศ.1300

คุรุปัทมสมภพทรงมีบทบาทสำคัญในการสยบมารร้ายที่คอยขัดขวางการเผยแพร่พระธรรม ทรงให้พรและปลุกเสกสถานที่ต่างๆในทิเบต จนพระพุทธศาสนาสามารถประดิษฐานและรุ่งเรืองสุดขีดถึงปัจจุบัน ชาวทิเบตต่างสักการะท่านเสมือนหนึ่งพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง

องค์คุรุฯได้กล่าวไว้ว่า “อาตมามิได้ไปหรือมา ผู้ที่มีศรัทธาอาตมาจะสำแดงให้เห็นตรงเบื้องหน้าและถ่ายทอดพระธรรมให้ ทุกเดือนวันที่ 10 อาตมาจะมาสอดส่องดูแลเหล่าสาวกทั้งหลาย” เนื่องจากพระองค์ ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระอมิตาภพุทธเจ้าและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ การปฏิบัติบูชาพระองค์จะทำให้ผู้นั้นพัฒนาจิตสู่การหลุดพ้นได้อย่างรวดเร็ว

สายธรรมอันยิ่งใหญ่ของกรรมะกาคิว

ท่านนาโรปะ โยคีชาวอินเดียผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 11 เป็นหนึ่งในจำนวนผู้บรรลุธรรมสูงสุดเหล่านั้น หลังจากสำเร็จการศึกษาหลักธรรมจากมหาวิทยาลัยนาลันทางตอนเหนือของอินเดีย

ท่านนาโรปะได้หันหลังให้กับชีวิตในเพศสมณะเพื่อออกเดินทางตามหาท่านติโรปะ คุรุผู้จะสามารถนำพาท่านไปสู่ความหลุดพ้น และนี่เองคือจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การก่อตั้งนิกายกรรมะกาคิว ซึ่งเป็นสายธรรมของพระองค์กรรมาปะในที่สุด

สิ่งที่ท่านนาโรปะได้เรียนรู้จากท่านติโลปะคือ หลักธรรมมหามุทราหรือสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ เป็นคำสอนสูงสุดเกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่งและเป็นมรรคาธรรมที่จะนำไปสู่การหลุดพ้น
จากนั้นท่านนาโรปะได้ถ่ายทอดหลักธรรมเหล่านี้ให้แก่ท่านมารปะ ผู้เป็นศิษย์ ท่านมารปะถ่ายทอดต่อไปให้ท่านมิลาเรปะ จากท่านมิลเรปะสู่ท่านกัมโปปะ และจากท่านกัมโปปะไปสู่ท่านดูซุม เคียนปะ พระองค์กรรมปะที่ 1

จากนั้นสายธรรมอันยิ่งใหญ่ของกรรมะกาคิวก็ได้เริ่มต้น โดยรู้จักกันในนามของสายคำประคำทอง พร้อมกันนั้นยังได้เกิดธรรมเนียมปฏิบัติในการค้นหานิรมาณกายที่จะกลายมาเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาวัชรยานในเวลาต่อมา